Hover over me Tooltip text

ประวัติโรงพยาบาลทุ่งสง
พ.ศ. ๒๔๖๒ สุขาภิบาลและโรงพยาบาลทุ่งสง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ทรง สนับสนุนการศึกษา วัด เสือป่า ลูกเสือ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและการปกครอง ราษฎร โดยเฉพาะความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องถิ่นและด้านอนามัย ในปีนี้พระองค์ก็ได้อนุมัติให้มีสุขาภิบาล ขึ้นที่อำเภอทุ่งสงและโรงพยาบาล ดังรายงานของกระทรวงมหาดไทยความว่า
"ด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้มีใบบอกมาว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชและนายอำเภอทุ่งสงช่วยกันจัดการเรี่ยรายได้เงิน ๕,๙๘๐ บาท ๓๖ สตางค์แล้วได้แบ่งเงินออกเป็น ๓ ส่วนคือ จ่ายทำการสุขาภิบาลเสีย ๒,๒๒๙ บาท ๐๕ สตางค์ จ่ายสร้างโรงพยาบาล เรือนแพทย์ ๒,๓๖๗ บาท ๘๔ สตางค์ ซื้อยากับเครื่องมือแพทย์กับเครื่องใช้สอย ในการรักษาพยาบาล ๖๙๑ บาท ๕๕ สตางค์ เหลือเงินเก็บไว้สำหรับใช้จ่ายในการบำรุงต่อไปอีก ๖๘๒ บาท ๙๒ สตางค์"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆสำหรับโรงพยาบาลอีก โรงพยาบาลและเรือนแพทย์ได้สร้างขึ้น ๓ หลัง หลังหนึ่งกว้าง ๖ ศอก ยาว ๔ วา ๒ ศอกเท่ากัน เสาไม้แดงตั้งบนฐานก่อด้วยซิเมนต์ พื้นและฝาทำด้วยไม้กระยาเลย หลังคามุงกระเบื้องซิเมนต์แล้วเสร็จ ได้เปิดรับคนป่วยไว้ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์และสิ่งของตามบัญชีท้ายแจ้งความนี้ ขอพระราชทานถวายพระราชกุศล กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลนี้ด้วย
ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย แจ้งความมา ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ (ลงนาม) มหาเสวกเอก เจ้าพระยาสุรสีห์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย๔๖๐และในเดือนเดียวกันนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ได้ประทานเงิน ๒๐๐ บาทแก่วัดมัชฌิมาวาส สงขลาพร้อมกับนายกิมล้วน อัฏฏสิงห์ ๕๐ บาท นายจู ๒๐ บาทรวมเป็นเงิน ๒๗๐ บาท๔๖๑
๔๖๐ “ ผู้ว่าราชการจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราชและนายอำเภอทุ่งสงเรี่ยรายเงินสร้างโรงพยาบาล” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๖ ภาค ๒ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ หน้า ๓๔๖๙
นายแพทย์ประจำสถานีชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง เท่าที่รวบรวมได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนี้ มีดังนี้
๑. นายแพทย์อดุง เปรมัษเฐียร
๒. นายแพทย์เจิม สมิตะลัมภะ
๓. นายแพทย์รัตน์ เสวตรัตน์
๔. นายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ พ.ศ. - ๒๔๘๔
๕. นายแพทย์หลวงสมาน ธาตุวิเศษ พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘
๖. นายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๕๐๓
๗. นายแพทย์วิธาน สิงห์โภวินธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๕
๘. นายแพทย์รุ่งโรจน์ จุลชาติ พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๐๖
๙. นายแพทย์เปล่ง ทองสม พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๑๔
๑๐. นายแพทย์ล้วน บูชากรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๓๐
๑๑. นายแพทย์จรัส จันทร์ตระกูล ๑ ต.ค. ๒๕๓๐ - ๒๕ มี.ค. ๒๕๓๑ (รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ)
๑๒. นายแพทย์ประดิษฐ์ ธรรมเวช ๒๘ มี.ค. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒
๑๓. นายแพทย์จรัส จันทร์ตระกูล พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๕๘
๑๔. นายแพทย์ปรีชา วงศ์ศิลารัตน์ ปฏิบัติราชการสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
๑๕. นายแพทย์สวรรค์ กาญจนะ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ (รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ)
๑๖. นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ - ปัจจุบัน
กิจการแพทย์ของอำเภอทุ่งสง เท่าที่รวบรวมได้อยู่ในระดับดีเด่นตลอดมา เริ่มตั้งแต่การนำกิจการแพทย์เข้ามาในอำเภอนี้เลยทีเดียว ทั้งนี้จะเห็นได้จากแพทย์ที่เข้าประจำสถานีอนามัยหรือสุขศาลาสมัยนั้น เป็นนายแพทย์ทั้งสิ้น
ครั้งแรก สถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง หรือตามที่เรียกในสมัยนั้นว่า สุขศาลา ตั้งอยู่ในสถานีขนส่งของเทศบาลตำบลปากแพรกในขณะนี้ และตั้งอยู่นานสักเท่าใดไม่มีหลักฐานได้แน่ชัด ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๐ ที่ว่าการอำเภอทุ่งสงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอใหม่จากในสนามหญ้า หน้าที่ว่าการอำเภอปัจจุบันนี้ มาอยู่ในที่ปัจจุบัน ทางอำเภอจึงได้ย้ายสุขศาลามาอยู่ที่ว่าการอำเภอแทนในสวนสาธารณะ ซึ่งทางอำเภอมีโครงการจะทำให้สนามเป็นสนามกีฬาเป็นการถาวร ดังนั้น เจ้าคุณอมรฤทธิ์ดำรง ข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้มีหนังสือถึงพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมเขตยุคล เพื่อขอทราบเรื่องที่ดิน และตำหนักสัณฐาดาร อำเภอทุ่งสง ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมเขตยุคลและโอรส เพื่อจัดขึ้นเป็นสุขศาลาชั้น ๑ ต่อมาพระองค์เจ้าเฉลิมเขตยุคลได้ทรงประทานตามหนังสือที่ ๑๑๔/๒๔๙๓ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๙๓ เพื่อจัดสร้างเป็นสุขศาลาชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง ต่อไป
เมื่อทางอำเภอได้รับหนังสือของพระองค์เจ้าฯฉบับนี้แล้ว ที่ได้จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขภาค ๘ (ขุนชำนาญเวชศาสตร์) เป็นผู้แทนในการรับมอบที่ดินนี้
ตามหนังสือจังหวัด ที่ ๑๙๗๘๙/๒๔๙๖ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖ ต่อมาสุขศาลาชั้น ๑ได้รับงบประมาณใช้ก่อสร้างใหม่ พร้อมบ้านพักเจ้าหน้าที่ในบริเวณที่ดินที่ประทาน ซึ่งอยู่ในขณะนี้ โดยสร้างไว้ข้างๆของตัวตำหนักเก่าซึ่งทรุดโทรมเป็นอันมากแล้ว ได้ทำการก่อสร้างเมื่อปี ๒ ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น
ในบริเวณที่ดินแห่งนี้ ได้มีนายพร้อม จุรุบุศษ์ เป็นอยู่และอยู่เดิม ภายหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของสุขศาลาชั้น ๒ อำเภอทุ่งสง นายพร้อม จุรุบุศษ์ คงอาศัยอยู่ต่อไปตามที่ตกลงกว่าจะสิ้นชีวิต ในกว่าจะสิ้นชีวิตทั้งสองคน (สามีภรรยา) โดยอาศัยอยู่ในบ้านพักเดิมที่ยกให้เป็นของสุขศาลาแล้ว
ก่อนที่จะได้รับงบประมาณก่อสร้างสถานีอนามัยใหม่นี้ ได้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราชผู้หนึ่ง ขอเงินงบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาลสร้างเรือนพักคนป่วยให้ดังที่เห็นขณะนี้ จำนวน เหลือแต่ก็ได้สร้างมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๐๗
นายแพทย์คนแรกที่เข้ามารับราชการและรับใช้ประชาชนของอำเภอทุ่งสง คือ นายแพทย์อดุง เปรมัษเฐียร แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่สามารถจะค้นหาหลักฐาน ได้แน่นอนว่าท่านผู้นี้เริ่มรับราชการในตำแหน่งนี้เมื่อใด อย่างไรก็ดีคงจะไม่ก่อน พ.ศ. ๒๔ แน่นอน เนื่องจากนายแพทย์อดุง เปรมัษเฐียร ผู้นี้ตามทำเนียบแพทย์ปรากฎว่าสำเร็จ เป็นแพทย์ประกาศนียบัตรเมื่อ พ.ศ. ๒๔ ยกราชแพทย์วิทยาลัย เมื่อค้นหลักฐานแพทย์เข้ารับราชการสมัยนั้นร่วมกับการตั้งอำเภอทุ่งสงแล้ว กิจการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มต้นในอำเภอทุ่งสง น้อยกว่าตั้งอำเภอ ยี่ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่านายแพทย์อดุง เปรมัษเฐียร ได้นำวิทยาการแพทย์แผนปัจจุบันเข้าสู่อำเภอทุ่งสงเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ และในสมัยนั้ยเท่าที่ทราบ นายแพทย์อดุง เปรมัษเฐียร คือวีรบุรุษของอำเภอทุ่งสง ที่สามารถพลิกประวัติศาสตร์การแพทย์ของอำเภอทุ่งสงได้ ตามทางสันนิษฐานว่าเพราะเหตุใดอำเภอทุ่งสงจึงโชคดีมี แพทย์แผนปัจจุบันชั้น ๑ ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น เข้าใจกันว่าเนื่องจากอำเภอทุ่งสงมีตำหนักสันฐาคารของมหาอุปราชปักษ์ใต้ คือ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ตั้งอยู่ จึงน่าจะเป็นเหตุหนึ่งบันดาล ให้มีแพทย์ปัจจุบันชั้น ๑ มารับราชการประจำอยู่ในอำเภอทุ่งสงนี้
นายแพทย์เจิม สมิตะลัมภะ ท่านผู้นี้ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ มีบุตรหลานเป็นนายแพทย์หลายคน ตามทำเนียบแพทย์ท่านสำเร็จแพทย์ประกาศนียบัตรจากราชแพทย์วิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ และอยู่ในความทรงจำของอำเภอทุ่งสงอยู่เช่นเดียวกัน
นายแพทย์รัตน์ เศวตรัตน์ ท่านผู้นี้ตามทำเนียบแพทย์ที่ค้นพบตามทำเนียบแพทย์ประกาศนียบัตรจากราชแพทย์วิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยที่ท่านมีตำหนิปานแดงที่ใบหน้า ประชาชนส่วนใหญ่ของอำเภอทุ่งสงยังจำอยู่ผู้นี้ได้ในนาม (หมอหน้าแดง) ส่วนชื่อนั้น มีผู้จำได้เพียง ๕-๖ คนเท่านั้น
นายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ ท่านผู้นี้ตามทำเนียบแพทย์ที่ค้นพบ ท่านสำเร็จแพทย์ประกาศนียบัตรจากราชแพทย์วิทยาลัยเช่นเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ และท่านผู้นี้เองได้สร้างความเกรียงไกรและคุณค่าของแพทย์ให้เกิดความประทับใจของชาวอำเภอทุ่งสงโดยทั่วไป ท่านเป็นนายแพทย์คนเดียวเท่านั้นที่กินอุดมคติอย่างที่สุด และท่านผู้นี้เช่นเดียวกันที่สามารถทำให้วงการแพทย์ของเรามีความหมายยิ่งขึ้น ไม่ใช่ขอหรือซื้อกันได้ง่ายๆ ท่านเริ่มเข้ารับราชการที่อำเภอทุ่งสงเมื่อก่อนเกิดสงครามอินโดจีน ภายหลังจากเกิดสงครามขึ้นแล้ว ประมาณพ.ศ. ๒๔๓๘ นายพทย์กลิ่น อติศัพท์ ก็ถูกมรสุมการเมืองมายุ่งเกี่ยว ทำให้ท่านต้องลาออกจากราชการภายหลังจากเกิดสงครามโลกขึ้นแล้ว ในฐานะที่ท่านเป็นนายแพทย์ทหารกองหนุนชั้นที่ ๑ ท่านจึงถูกระดมเข้ารับราชการทหารอีก และถูกระดมอยู่แนวหน้า เป็นแพทย์ทหารสนามจนถึงเมืองเชียงตุง ภายหลังจากสงครามโลกเลิกและประเทศไทยประกาศสันติภาพแล้ว นายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ ได้รับพระราชทานยศเลื่อนเป็นนายร้อยโท และปลดออกจากประจำการ ท่านจึงขอเข้ารับราชการอีกที่อำเภอทุ่งสงนี้ และท่านก็ได้ถึงแก่กรรมในตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในตำแหน่ง "นายแพทย์โทหัวหน้าสถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง" เมื่ออายุครบ ๕๘ ปี โดยได้รับเงินเดือนครั้งสุดทายเพียง ๑๘๐ บาท เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ นี้เอง (บวกเงินเพิ่มแล้วเป็น ๒,๒๐๐ บาท) นายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ ไม่เคยใช้เวลาว่างเป็นงานอาชีพส่วนตัวเลย หากประกอบโรคศิลป์เป็นการส่วนตัวบ้างในช่วงระยะเวลาร่วมยี่สิบปี ตั้งแต่ยังไม่มีแพทย์เชลยศักดิ์มาทำมาหากินในภิ่นอำเภอทุ่งสงนี้ ท่านผู้นี้คงจะตั้งหลักฐานอย่างมั่นคงทีเดียว แต่ท่านเป็นนักกินอุดมคติจึงไม่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวของท่านจึงยอมตลอดมา
นายแพทย์หลวงสมาน ธาตุวิเศษ เป็นนายแพทย์ของอำเภอทุ่งสงเป็นอันดับที่ ๕ ท่านผู้นี้สำเร็จวิชาแพทย์ประกาศนียบัตรจากราชแพทย์วิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔ ท่านรับราชการอยู่ในอำเภอทุ่งสง ในช่วงระยะเวลาเกิดสงครามพอดี คือหลังจากนายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ ซึ่งเข้ารับราชการอีกครั้งหลัง
นายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ ได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังการถูกระดมพลไปรับราชการทหารในแนวหน้าเขตเมืองเชียงตุงและสงครามเลิกแล้ว ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของสถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง นายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ แต่ผู้เดียวที่พ่อค้าประชาชนและข้าราชการรู้จักเป็นอย่างดี เพราะท่านผู้นี้ได้สร้างสิ่งประทับใจหลายอย่างไว้ แต่อย่างไรก็ดี กิจการแพทย์ของสถานีอนามัยชั้น ๑ แห่งนี้นับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ชบเชามาก คงเนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจของอำเภอทุ่งสงอยู่ในเกณฑ์ดี และมีแพทย์เชลยศักดิ์มากก็เป็นได้
ภายหลังจากนายแพทย์กลิ่น อติศัพท์ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว จังหวัดนครศรีธรรมราชได้สั่งแต่งตั้งนายแพทย์วิธาน สิงหโกวินธ์ มาประจำแทนโดยรับราชการอยู่ประมาณ ๓ ปี แต่อย่างไรก็ดีกิจการแพทย์สถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้น ซ้ำร้ายกลับทรุดหนักลงไปอีก หรือเกือบจะพูดได้ว่าประชาชนขณะนั้นลืมสถานีอนามัยทุ่งสงเสียแล้ว ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่า คงเนื่องจากนายแพทย์วิธาน สิงหโกวินธ์ ไม่อยู่ประจำบ้านพักของทางราชการ ทำให้ประชาชนติดต่อไม่สะดวก
นายแพทย์รุ่งโรจน์ จุลชาต เป็นนายแพทย์ที่กรมอนามัยได้ส่งมาช่วยราชการชั่วคราว ในระยะที่ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชกำลังประสบความหายนะจากวาตภัย ๒๕๐ และได้รับงานต่อนายแพทย์วิธาน สิงหโกวินธ์ และด้วยความสามารถของท่านผู้นี้เองที่สามารถกลับใจชาวบ้านทั่วทุกหนทุกแห่ง หันกลับมาสนใจกิจการแพทย์ของสถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสงอีก กิจกรรมที่ท่านผู้นี้ได้กระทำไว้ เช่น การปรับปรุงในการรักษาพยาบาล จนมีคนป่วยมารับบริการวันละประมาณ ๒๐-๓๐ ราย มีคนมารับการปลูกฝี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังได้ตกแต่งตัวอาคาร บริเวณรอบๆอาคาร สนาม ให้สวยงามน่าอยู่น่าใช้ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้ปลูกไม้ดอกไม้ใบ ต่อน้ำประปาและไฟฟ้า นับว่าท่านได้สร้างสรรค์สถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง ให้กลับเข้าสู่ความสนใจของประชาชนอีกวาระหนึ่ง น่าเสียดายที่ท่านผู้นี้มีเวลารับราชการอยู่ที่อำเภอทุ่งสงเป็นเวลาเพียง ๑ ปีเท่านั้น มิฉะนั้นกิจการแพทย์ของอำเภอทุ่งสงคงจะรุดหน้าไปอีกไกลมาก
วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายแพทย์เปล่ง ทองสม มารับราชการในตำแหน่งนายแพทย์อนามัยอำเภอโท อำเภอทุ่งสง และรักษาการในตำแหน่งนายแพทย์โทหัวหน้าสถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง อีกตำแหน่งหนึ่ง และได้ดำเนินงานของสถานีอนามัยแห่งนี้เป็นลำดับมา เป็นการปรับปรุงตัวอาคารสถานีอนามัย แบ่งเป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องฉีดยา ห้องปฏิบัติการ ห้องฟัน ห้องมารดาทารกสงเคราะห์ ให้เป็นสัดส่วนและเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดทำรั้วรอบบริเวณ ทำถนนเข้าสถานีอนามัย พร้อมทางระบายน้ำรอบๆตัวอาคาร นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงอาคาร สร้างหลังสถานีอนามัยให้เป็นที่พักคนไข้ขึ้นอีกด้วย
ในปีต่อๆมาได้ปรับปรุงสถานที่ เช่น ขุดสระเพื่อเอาดินขึ้นมาถมบริเวณที่ลุ่มในที่ต่างๆเพื่อเป็นการป้องกันยุง และทำให้ดูสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ได้จัดปลูกต้นไม้ ไม้ใบ และมะพร้าวในบริเวณสถานีอนามัยเป็นจำนวนมาก อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้
ในปี ๒๕๐๗ สถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง ได้งบประมาณก่อสร้างรั้วด้านหน้าสถานีอนามัย ในงบประมาณ ๒๘,๐๐๐ บาท (สองหมื่นแปดพันบาทถ้วน) และเจ้าหน้าที่อนามัยได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่สรรพากร อำเภอทุ่งสง ร่วมกันหาเงินทำรั้วลวดหนามกั้นรอบที่ดินของสถานีอนามัยได้ ภายหลังที่ได้ทำโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้ว
ในปีนั้นเอง ในปี ๒๕๐๙ ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักชั้นตรี ๑ หลัง จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และเงินร่วมบ้านพักชั้นโทอีก ๖,๐๐๐ บาท (หกพันบาทถ้วน) อีกด้วย
นอกจากนี้ ในปี ๒๕๐๙ ทางอำเภอทุ่งสงได้จัดการรวบรวมเงินได้จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาทเศษ ซื้อเครื่องเอ็กซเรย์เล็กให้แก่สถานีอนามัยอีกหนึ่งเครื่องด้วย โดยนายจิระพันธ์ ประชุมธนสาร นายอำเภอเป็นประธาน สภาพของที่ดินและอาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่จึงเห็นอยู่อย่างในขณะนี้ (๒๕๑๐)
ในปีงบประมาณ ๒๕๑๐ ทางกองควบคุมโรคปอด ได้ส่ง (นายสวัสดิ์ นาอนันต์) พนักงานอนามัย ทำหน้าที่พนักงานบำบัดโรคปอด มาประจำสถานีอนามัยชั้น ๑ อำเภอทุ่งสง อีก ๑ คนด้วย โดยให้การบริการแก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า
๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๓ ทางกรมได้ย้ายนายแพทย์เปล่ง ทองสม ไปประจำสถานีอนามัยชั้น ๑ อ.หนองแขม จ.ธนบุรี
๕ มีนาคม ๒๕๑๔ นางเครือวัลย์ ทองสม พยาบาลตรี ย้ายติดตามไปประจำสถานีอนามัยชั้น ๑ อ.หนองแขม จ.ธนบุรี
กรกฎาคม ๒๕๑๔ จังหวัดได้แต่งตั้ง นายแพทย์ล้วน บูชากรณ์ นายแพทย์โทหัวหน้าสถานีอนามัยชั้น ๑ อ.สิชล มาดำรงตำแหน่งนายแพทย์โท หัวหน้าสถานีอนามัยชั้น ๑ อ.ทุ่งสง แทนนายแพทย์เปล่ง ทองสม
กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับบริหารของสำนักงานปลัดกระทรวง โดยรวมกรมการแพทย์และกรมอนามัยเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่ากรมการแพทย์อนามัย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านอัตรากำลัง เจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยชั้น ๑ ทุ่งสง หลังจากที่นายแพทย์ล้วน มาปฏิบัติงานราชการแล้ว ดังนี้
ปี ๒๕๑๔ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย
๑. นายแพทย์ล้วน บูชากรณ์ นายแพทย์โทหัวหน้าศูนย์การแพทย์และอนามัย
๒. นางประทีป เมืองศรี พยาบาลอนามัย
๓. นางสวาท ชาญอาวุธ ผดุงครรภ์
๔. นายวรรณ เปรมศริน ทันตอนามัย
๕. นางสุภาพ เปรมศริน ผดุงครรภ์
๖. นางสมนา มณีฉาย (สุวรรณฤทธิ์) ผดุงครรภ์อนามัย
๗. นางบุบผา วงศ์ทอง ผู้ช่วยพยาบาล
๘. นายสวัสดิ์ นาอนันต์ พนักงานอนามัย (งานควบคุมวัณโรค)
๙. นายสราวุธ ทองใบใหญ่ พนักงานอนามัย
๑๐. นายสันติ เวสนุสิทธิ์ พนักงานอนามัย
๑๑. นายล้วน บางแจ้ง อนามัยอำเภอ
๑๒. นายวัง นิยมชื่น นักการภารโรง
จากอัตรากำลังเท่าที่มีดังกล่าวข้างต้น นายแพทย์ล้วน บูชากรณ์ ได้ดำเนินการจัดแบ่งและมอบหมายงานรับผิดชอบให้แต่ละคนไปปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างศรัทธาแก่ประชาชนผู้มารับบริการ ตามความสามารถและความเหมาะสมแต่ละคน รวมทั้งได้ปรับปรุงขยายอาคาร ให้บริการผู้ป่วยทั้งภายนอกและภายใน จนทำให้ผู้มารับบริการเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับเรื่อยมา
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางราชการได้ส่งพยาบาล นางนงเยาว์ ณ นคร มารับราชการในตำแหน่งพยาบาลจัตวา และได้มีเจ้าหน้าที่ย้ายมาปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น คือ นางอรนุช อรุณรัตน์ พยาบาลอนามัยจัตวา
นางสาววรรณา สนใจ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่อนามัย นางอาภรณ์ วารีวนิช ผดุงครรภ์อนามัย นางประนอม ศรีใหม่ ผู้ช่วยพยาบาล นางสาวนิตย์ ทองส่งโสม ผู้ช่วยพยาบาล
อนึ่ง ในการที่กระทรวงสาธารณสุขได้เปลี่ยนชื่อสถานีอนามัยชั้น ๑ เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยนั้น ได้กำหนดแบ่งส่วนราชการภายในศูนย์การแพทย์อนามัยออกเป็นฝ่ายและงานต่างๆดังนี้ คือ
๑. ฝ่ายธุรการ
๒. ฝ่ายรักษาพยาบาล
๓. ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ
๔. ฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรค
ในปี ๒๕๑๗ ทางจังหวัดได้ย้ายนายล้วน บางแจ้ง ไปประจำจังหวัด และย้ายนายกระจ่าง หนูทองแก้ว มาดำรงตำแหน่งอนามัยอำเภอ รวมทั้งได้เปลี่ยนชื่อตำแหน่ง "อนามัยอำเภอ" เป็นสาธารณสุขอำเภอ มีสายงานบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายอำเภอ
ศูนย์การแพทย์และอนามัย ได้รับการจัดสายงานบังคับบัญชาให้ขึ้นตรงต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ในปี ๒๕๑๙ กระทรวงสาธารณสุข ได้ยกฐานะอำเภอทุ่งสงเป็นโรงพยาบาล ๑๐ เตียง โดยมิได้จัดสรรงบประมาณมาทำการก่อสร้างงานและในโรงเรียน ประมาณ ๒๕๒๐ ได้ยกฐานะจากโรงพยาบาล ๑๐ เตียง เป็นโรงพยาบาล ๓๐ เตียง โดยจัดสรรงบประมาณมาสร้างอาคารผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน สร้างโรงอาหาร โรงซักฟอก และบ้านพักเจ้าหน้าที่ ๑๐ หลัง และระบบประปา รวมเป็นเงินประมาณ ๖ ล้านบาท
ในปีงบประมาณ ๒๕๒๒ ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาล ๖๐ เตียง ได้รับงบประมาณมาก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในขนาด ๓๐ เตียง ๑ หลัง อาคารพัสดุ ๑ หลัง ศูนย์จ่ายกลางและบ้านพักเจ้าหน้าที่ อีก ๓ หลัง
เนื่องจากอำเภอทุ่งสงเป็นอำเภอใหญ่ มีประชากรมาก ประกอบการสัญจรไปมาระหว่างอำเภอทุ่งสงกับอำเภอใกล้เคียงเป็นไปอย่างสะดวก รวมตลอดทั้งประชาชนเกิดความศรัทธาในโรงพยาบาลทุ่งสงเป็นอย่างดี จึงมีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตลอดมา จนเห้นได้ชัดว่า อาคารให้บริการ เช่น สัมผัสผู้ป่วยใน ที่รับงบประมาณมาสร้าง ไม่เพียงพอที่จะรองรับการใช้บริการของประชาชน
ในปี ๒๕๒๒ นายแพทย์ล้วน บูชากรณ์ จึงได้เริ่มรณรงค์จัดหาทุน โดยขอความร่วมมือจากคณะสงฆ์ อำเภอทุ่งสงรวมพ่อค้า คหบดี จัดทอดผ้าป่าสามัคคีเป็นการประจำปีละ ๑ ครั้ง เรื่อยมาจนสามารถได้ทุนประมาณ ๑ ล้านกว่าบาท สามารถก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธได้ ๑ หลัง เมื่อปี ๒๕๒๘ และในปี ๒๕๒๙ ได้ดำเนินการโดยหาทุนต่อไปเพื่อทำการก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน เฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา การก่อสร้างตึกต่างๆเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี ๒๕๓๐ และปีนี้ รองโรงพยาบาลทุ่งสงได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด ๙๐ เตียง แต่สามารถรับผู้ป่วยได้ประมาณ ๑๒๐ เตียง
ในปีงบประมาณ ๒๕๓๑ กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งนายแพทย์ล้วน บูชากรณ์ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและบริการสาธารณสุขจังหวัด นครศรีธรรมราช และให้นายแพทย์จรัส จันทร์ตระกูล รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งสง จนถึงปลายเดือนเมษายน ๒๕๓๑ นายแพทย์ประดิษฐ์ ธรรมเวช ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งสง
ในปี ๒๕๓๒ นายแพทย์จรัส จันทร์ตระกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งสง จนถึง ปี ๒๕๕๘
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ นายแพทย์สวรรค์ กาญจนะ ดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งสง จนถึง ปี ๒๕๕๙
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๙ นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งสง จนถึง ปี ๒๕๖๐
ในปีพ.ศ. ๒๕๖๐ นายแพทย์ศักดา อัลภาชน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งสง จนถึงปัจจุบัน